ปัจจุบันแตรวงได้มีการพัฒนาการเป็น 2 รูปแบบคือ
1.แตรวงที่พัฒนาเป็นวงโยธวาธิต ที่ใช้ในกิจกรรมของกองทัพ และตามโรงเรียนมัธยม มีรูปแบบในการบรรเลง เช่นใช้โน้ตเพลงที่แยกกันแต่ละชิ้น มีการประสานเสียง
2.แตรวงพื้นบ้านที่ใช้ในกิจกรรมชาวบ้าน ในการแห่ประกอบงานรื่นเริง งานบวช งานสมโภช งานบุญต่างๆ โดยบรรเลงแบบวงปี่พาทย์ คือใช้บทเพลงที่ใช้กับวงดนตรีทั่วไป โดยเน้นความสนุกสนานแตรวงพื้นบ้านจะมีเครื่องดนตรีไม่มากนัก เครื่องดนตรีที่ใช้จะเป็นจำพวกแตร การฝึกหัดก็จะใช้การถ่ายทอดสืบต่อกันมาไม่มีการดูโน้ตเพลง
ในเวลาการบรรเลงต้องอาศัยการจดจำ นั่งล้อมวงกันบรรเลงแตรวงจึงเป็นการละเล่นพื้นบ้านในการดำรงชีวิต ของชาวบ้าน ผู้ที่เล่นทั้งชายและหญิงทุกวัย ตั้งแต่เด็กหนุ่มสาวผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้สูงอายุตามโอกาส
– กลุ่มเครื่องเป่า ได้แก่ ทรัมเป็ตหรือคอร์เน็ต มีผู้เล่น 9 คน
เฟรนช์ฮอร์น มีผู้เล่น 4 คน บาริโทน มีผู้เล่น 2 คน ทรอมโบน มีผู้เล่น 3 คน
ยูโฟเนียม มีผู้เล่น 2 คน และทูบา มีผู้เล่น 2 คน
– กลุ่มเครื่องตี ได้แก่ ไทรแองเกิล กลองใหญ่ ฉาบ ทิมปานี กลอง-สแนร์ ไซโลโฟน และมาริมบา
มีผู้เล่นชนิดละ 1 คน
เครื่องดนตรีในแตรวงประกอบด้วยเครื่องดนตรีในกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่มคือ
1.กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง (Brass) ทรัมเป็ตหรือคอร์เน็ต เฟรนช์ฮอร์น บาริโทน ทรอมโบน ยูโฟเนียม และทูบา
2.กลุ่มเครื่องตี (Percussion) ไทรแองเกิล กลองใหญ่ ฉาบ ทิมปานี กลอง-สแนร์ ไซโลโฟน และมาริมบา
Get Lucky - cover by Brevis Brass Band
ทำแบบทดสอบ
ชอบเพลงที่ใส่่้ไว้ค่ะ ขอบคุฯสำหรับเนื้อหาดีๆค่ะ
ตอบลบ