หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความเป็นมา





               การกำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ 
              การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
2. สมัยโรมัน (Roman)
3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)  
6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)

ยุคของดนตรีสากล



       นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้
           1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
          2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ   G.F. Handel  


          3. Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  Joseph Haydn, Christoph Willibald Gluck   และMozart


          4. Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beethoven และคนอื่นอีกมากมาย


          5. Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

ประเภทของวงดนตรีสากล



           วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆ จนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะการผสมวงที่แตกต่างกัน ทั้งชนิดของเครื่องดนตรี และจำนวนชิ้นที่ใช้ในการบรรเลง ความหลากหลายของเครื่องดนตรี และจำนวนผู้เล่นดังกล่าวก่อให้เกิดวงดนตรีตามสมัยนิยมเป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)
2. วงดุริยางค์ (Orchestra)
3. วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)
4. วงคอมโบ (Combo band)
5. วงชาโดว์ (Shadow)
6. วงดนตรีแจ๊ส (Jazz)
7. วงโยธวาทิต (Military Band)
8. แตรวง (Brass Band)


1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)



      หมายถึง วงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย ในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนักหรือ คฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้น ทำให้สถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่ และใน Concert Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะวงแชมเบอร์มิวสิค 



      วงแชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆกัน โดยปกติจะมีนักดนตรี 29 คน และ เรียกชื่อต่างๆกัน ตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้ 

จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดูโอ (Duo)

จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)

จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet)

จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet)

จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet)

จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet)

จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet)

จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)

ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9 คน แต่ไม่ถึง 20 คน  เรียก อังซังเบลอ (ensemble) เช่น วินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบส ของโมสาร์ท เป็น Serenade สำหรับเครื่องลม Bแฟลต



การเรียกชื่อ จะต้องบอกชนิดของเครื่องดนตรี และ จำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น  
วงสตริงทรีโอ (String Trio)  มี  ไวโอลิน 1 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน



วงสตริงควอเตท (String Quartet)  มี  ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน
วงสตริงควินเตท (String Quintet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน เชลโล 1 คัน และ ดับเบิลเบส 1 คัน
วงวูดวินควินเตท (Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5 คน ได้แก่ ฟลุ๊ต ปี่โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และ เฟรนซ์ฮอร์น  





วงแชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน
ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ
 ( *สำหรับปัจจุบันแล้ว วงแชมเบอร์มิวสิคยังคงได้รับความที่นิยมนำไปใช้บรรเลงในงานฉลองมงคลสมรสอีกด้วย* )
   





Chamber Music Society of Lincoln Center - Mozart Celebration

2.วงดุริยางค์ (Orchestra)



         เป็นวงดนตรีที่ต้องผสมด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆจนครบทั้ง 4 ตระกูล  ซึ่งจะต้องมีนักดนตรีบรรเลงเป็นจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60 คนขึ้นไป แต่ถ้ามีจำนวนนักดนตรีมากกว่า 100 คนขึ้นไป ให้เรียกว่าวงจุลดุริยางค์ วงดนตรีมีลักษณะต่างๆ ที่กล่างมานี้เหมาะสำหรับใช้บรรเลงภายใน “หอดนตรี” (Music Hall) 






แบ่งได้หลายขนาดตามจำนวนผู้บรรเลง แต่ละขนาดจะเรียกชื่อต่างกันดังนี้
1.วงดุริยางค์ซิมโฟนี (Symphony Orchestra) 
                เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีทุกชนิดทั้ง 4 กลุ่มขนาดเล็กมีผู้บรรเลง 40-60 คน ขนาดกลางมีผู้บรรเลง 60-80 คน ขนาดใหญ่มีผู้บรรเลง 80-100 คน ถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายเรียกว่า String Orchestra

2.วงดุริยางค์ประกอบการแสดงอุปรากรและละคร (Orchestra for Accompaniments of Opera) 
           เป็นวงดุริยางค์เช่นเดียวกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี แต่มีขนาดเล็กกว่า มีนักดนตรีประมาณ 60 คน ใช้ประกอบการแสดงอุปรากร และละครเป็นหลัก







            วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง และกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีผู้อำนวยเพลง (Conductor) ถือไม้บาตอง (Baton) ยืนอยู่ด้านหน้าวง มีหน้าที่ควบคุมการบรรเลงของนักดนตรีทั้งวง
                                   
                                     


John William Conductor,Composer 
ผู้ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ STAR WARS 
และภาพยนตร์อื่นๆ อีกมากมาย





 
 The Main Theme From Star Wars

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)


          
            วงป๊อปปูลามิวสิค หรือ วงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไปประกอบด้วย เครื่องดนตรีกลุ่มแซกโซโฟน, กลุ่มเครื่องทองเหลือง และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ






             จำนวนผู้เล่นจะตามจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้ประมาณ 12-16 คน







           
วงป๊อปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด

3.1.วงขนาดเล็ก (วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้
กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1  คัน เทเนอร์แซ็ก 2  คันบาริโทนแซ็ก 1 คัน
กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3  คัน ทรอมโบน 1 คัน
กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1  ตัว กลองชุด  1  ชุด
( วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4
ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

3.2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน

3.3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7)  มี 16  ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว
ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน





Zoot - vintage dance band

4.วงคอมโบ (Combo band)



                วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี พวกริทึม(Rhythm) และพวกเครื่องเป่า ทั้งลมไม้ และ เครื่องทองเหลือง  เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโน หรือ มีเครื่องเป่า ผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับวงป๊อปปูลามิวสิค วงคอมโบก็เป็นสมอลล์แบนด์ (small Band) แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักจึงเหมาะสำหรับ เล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆไปนอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วยเพลงไทยสากลและเพลงสากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆ






จำนวนผู้เล่นจะตามเครื่องดนตรีที่ใช้ประมาณไม่เกิน 3-10 คน







ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนื้

จากซ้ายไปขวา

    1. กีตาร์คอร์ด
    2. กีตาร์เบส
    3. กลองชุด
    4. แกนทรอมโบน
    5. แซ็กโซโฟน
    6. ทรัมเป็ต
    รวมถึง เปียโนหรือออร์แกนด้วย





ชาตรี - รักครั้งแรก